This message is only visible to admins.
Problem displaying Facebook posts. Backup cache in use.
Click to show error
Problem displaying Facebook posts. Backup cache in use.
Click to show error
Error: Error validating access token: The session has been invalidated because the user changed their password or Facebook has changed the session for security reasons. Type: OAuthException
“สิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่คุณมี”![]()
เป็นรูปประโยคที่สั้นและเรียบง่าย แต่หาคำตอบได้ยาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เรามี มักไม่ใช่สิ่งที่พิเศษในความคิดเรา ![]()
จนกว่าจะมีคนมาบอกว่า สิ่งที่เรามีคือสิ่งที่วิเศษกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีแบบเรา![]()
จึงชวนให้เรากลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า สิ่งที่เรามี คืออะไร![]()
สิ่งที่เรามีนั้นมันมีหลากหลายมิติมาก ตั้งแต่...
นิสัย พฤติกรรม จิตใจ ความสัมพันธ์ ผลงาน และอีกมากมาย![]()
ซึ่งการค้นหาสิ่งที่เรามีในเบื้องต้น คือ การหากระจก
กระจกที่แตกต่างกันในแต่ละบาน ![]()
บานแรก คือ กระจกจากเพื่อนฝูง ที่จะสามารถบอกความจริงอันแสนเจ็บปวดให้เราได้ว่า เราเป็นคนอย่างไร มีดีอะไร มีร้ายอะไร และควรแก้อย่างไร เรียกว่ากัลยาณมิตรที่แท้จริง จะไม่พูดเอาใจเราเกินไป แต่จะพูดความจริงให้เราเป็นคนที่ดีขึ้น![]()
บานที่สอง คือ กระจกจากเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานที่สนิทชิดเชื้อ ที่เคยร่วมทุกข์ในกระบวนการทำงานมา จะสะท้อนจุดแข็ง และจุดอ่อนให้เราได้เอาไปปรับใช้ เพื่อให้รู้ก่อนว่าแต่เดิมเรามีอาวุธอะไร และจากนี้ไปอาวุธใหม่ของเราที่ควรมีคืออะไร ![]()
บานที่สาม คือ ผลของงาน ถ้าใครไม่มีอาจเป็นสิ่งที่ต้องกลับมาทบทวนกระจกบานแรกกับบานสองเยอะหน่อย แต่ถ้าใครมีผลของงานก็สามารถนั่งวิเคราะห์ต่อในสิ่งที่เรามีว่า เราคือส่วนผสมอะไรของงานในนั้น และส่วนผสมนั้นคือสิ่งที่เรามีอะไร เช่น ความคิดตั้งต้น การดีไซน์ การสื่อสาร การบริหาร และอื่น ๆ ![]()
บานที่สี่ คือ การคุยกับคนเก่งจริงที่อยู่กับอนาคต กระจกบานนี้ไม่ได้เป็นการสำรวจตัวเราจากสิ่งที่ผ่านมา แต่จะเป็นการพาเราไปเห็น ไปพบ กับโลกในอนาคตการทำงานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้เราย้อนกลับมาสำรวจเล็กน้อยว่า สิ่งที่เรามี มันเพียงพอต่อการก้าวไปข้างหน้ากับสิ่งที่เราพอจะรู้ พอจะเห็นได้ไหม ![]()
ลองเอาแนวคิดกระจก 4 บาน ไปใช้ดูว่า สิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่เรามีนั้น มีอะไรบ้าง...![]()
📷🙏: ออฟฟิศ 0.4
รู้จัก 4 พื้นที่การทำงานที่ก่อร่างสร้างตัวจากความสัมพันธ์ใน Office!
จากหนังสือ จาก Think Again ของ Adam Grant![]()
1. ออฟฟิศที่ขัดแย้งเรื่องการงานสูง แต่ขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ต่ำ ->
เป็นพื้นที่การทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ พนักงานสามารถถกเรื่องงานได้โดยที่ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์![]()
2. ออฟฟิศที่ขัดแย้งเรื่องการงานสูง และขัดแย้งด้านความสัมพันธ์สูง ->
เป็นพื้นที่การทำงานบนควาามรู้สึกกดดัน มีแต่ความขัดแย้งและไม่สามารถหาทางออกได้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานก็ไม่ดี![]()
3. ออฟฟิศที่ขัดแย้งเรื่องการงานต่ำ และขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ต่ำ ->
เป็นพื้นที่การทำงานแบบสบายใจ จนกลายเป็น Comfort Zone ของพนักงาน![]()
4. ออฟฟิศที่ขัดแย้งเรื่องการงานต่ำ แต่ขัดแย้งด้านความสัมพันธ์สูง ->
เป็นพื้นที่การทำงานบนความ Toxic อาจจะนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของพนักงาน ไปจนถึงเรื่องการเมืองในที่ทำงานได้ ![]()
🙏: Boy's Thought
สรุป 8 วิธียืมพลังสมองของคนอื่น
1. ขัดเกลาทักษะการตั้งคำถามไว้ถามคนเก่ง
2. ถ้าต้องการสร้างผลลัพธ์ให้เร็วที่สุดโดยเริ่มต้นจากศูนย์ต้องทำอะไรโดยลำดับขั้นตอนอย่างไร เป็นคำถามทรงพลัง
3. การอยากเรียนรู้จากคนเก่ง เริ่มจากให้ในสิ่งที่อีกฝ่ายอยากได้
4. “การมีสื่อของตัวเอง” เพิ่มโอกาสยืมพลังสมองของคนเก่ง
5. ถ้าไม่มีความรู้เฉพาะทางให้เอาความรู้ของคนเก่งมาใช้
6. วิธีเก่งแบบก้าวกระโดดคือทำตามคำสอนของคนเก่งพร้อมกับรายงานผลและรับฟัง feedback
7. ถ้าอ่านหนังสือให้คิดไปด้วยว่าถ้าเจอเหตุการณ์นี้ จะทำอย่างไร
8. อย่ามองว่าคู่แข่งเป็นศัตรู แต่ให้ตีสนิทเพื่อพัฒนาไปด้วยกัน![]()
📷🙏: สรุปให้
During October 10-14, 2022 - Mr Kenji Takata, Director of Program and ICT from AFS Japan visited MBSA and had a meeting with the MBSA's Development team.
5 วิธีเคลียร์สมอง
🙏: Mission To The Moonเป็นอยู่ไหม? คิดมาก โฟกัสไม่ได้ ปัญหาที่คนทำงานต้องเจอ มาแก้ไขด้วย 5 วิธีเคลียร์สมอง
.
ใครกำลังเจอปัญหาเหล่านี้บ้าง? “งานโหลด สติหลุด” “สมองหยุดคิดไม่ได้” “เหนื่อยแบบไม่มีสาเหตุ”
.
เรื่องที่ต้องจำกลับลืม แต่เรื่องที่ควรลืม กลับคิดวนในหัวไม่หยุด บางทีก็รู้สึกอัดอั้น สับสน ไม่รู้จะจัดการกับความรู้สึกอย่างไร
.
อีกทั้งการจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก ไม่มีสมาธิ รู้สึก Burnout เหนื่อยและหมดแรงกับทุกอย่าง ประสิทธิภาพการตัดสินใจก็ลดฮวบ ทำอะไรก็มีข้อผิดพลาดตลอด
.
แล้วอะไรคือสาเหตุของอาการเหล่านี้กันแน่?
.
ในยุคของเทคโนโลยี ที่ความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร หล่อหลอมจนทำให้เรามองว่าการทันกระแส การทันข่าวเป็นสิ่งที่ดี แต่กลับกัน การเกาะติดข่าวสารมากเกินก็อาจทำให้เราไม่ได้พักสมองเสียที เหมือนกับการรับข้อมูลมาไม่หยุดหย่อน โดยที่บางครั้งสภาพจิตใจเราก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะตัดหรือมองข้ามมันไป
.
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเวลาเราเสพข่าวเยอะๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงเกิดความรู้สึกเหนื่อย ฟุ้งซ่าน และไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
.
อีกสาเหตุหนึ่งของอาการฟุ้งซ่านที่เราหลายคนกำลังเป็นอยู่นั้น เกิดจากการที่เราทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่า Multitasking จากความต้องการที่จะทำทุกอย่างให้เสร็จได้เร็วขึ้น
.
แต่บางทีผลลัพธ์มันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราหวังไว้เสมอไป ซ้ำร้าย กลับแย่ลงกว่าเดิม
เพราะการทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน จะทำให้เราขาดสมาธิ และไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญได้ เพราะ“ทุกอย่างดูสำคัญไปหมด” และทุกอย่าง “ต้องทำพร้อมกัน”
.
เชื่อว่าคนทำงานหลายคนคงเจอกับปัญหานี้ ที่เข้ามารบกวนจิตใจ ทำลายสมาธิไม่ให้เราสามารถจดจ่อในสิ่งตรงหน้าได้ ทำให้ในบทความนี้ เราจะพามารู้จัก 5 วิธีการ ที่จะช่วยขจัดสิ่งที่รบกวนจิตใจเรากัน
.
1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
.
การกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นำพาเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี และตรงกับความต้องการหรือสิ่งที่เรามุ่งหวังจริงๆ เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน เรารู้ว่าเวลานี้ควรทำอะไร อย่างไรต่อไป และไม่เสียเวลาหรือหลงทางไปกับอะไรที่ไม่ใช่
.
อีกทั้งการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราจัดระเบียบชีวิต จัดระเบียบความคิดได้ดียิ่งขึ้น และสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากการทำเรื่องต่างๆ พร้อมๆ กัน ไม่เพียงเสียเวลา แต่ยังทำให้สมองล้าอีกด้วย
.
2. ทำงานทีละอย่าง
.
สมองเราจะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดก็ต่อเมื่อเราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น เราควรที่จะเลือกทำงานทีละอย่างๆ ไป อย่าพยายาม Multitasking อีกทั้งวิธีการทำงานแบบนี้ยังช่วยให้เราไม่เกิดความรู้สึกกดดัน ไม่เครียด และไม่วิตกกังวลว่า “งานนี้ก็ยังไม่เสร็จ งานนั้นก็ยังไม่ครบ”
.
นอกจากนี้ การให้เวลาตัวเองจัดการงานที่คั่งค้าง แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ละส่วนๆ โดยเฉพาะงานชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาสั้นๆ ก็เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถจัดการกับงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นความบคืบหน้าได้ง่ายกว่า และไม่ท้อไปเสียก่อน
.
3. ตัดสิ่งรบกวนรอบตัว
.
นอกเหนือจากการรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป สิ่งรบกวนรอบตัวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราฟุ้งซ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งรบกวนจากเสียงแจ้งเตือนข้อความ เสียงโทรศัพท์ เสียงรถยนต์ ซึ่งเสียงเหล่านี้จะเข้ามารบกวนและทำให้เราขาดสมาธิ หลุดโฟกัสจากสิ่งที่กำลังจดจ่อ
.
ดังนั้น เราจึงต้องกลับมาทบทวนว่าอะไรเป็นสิ่งเร้าให้เรายิ่งเกิดความฟุ้งซ่าน และตัดสิ่งเร้าเหล่านั้นออก เมื่อเราทำได้แล้ว จะทำให้เราใส่ใจกับสิ่งที่สำคัญ มีความหมาย และมีสมาธิทำสิ่งที่ตนเองต้องการได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน
.
4. จัดการความคิดและความรู้สึกอย่างเป็นระบบ
.
การตัดสินใจ ภาระหน้าที่มากมาย รวมถึงข้อมูลที่เรารับเข้ามาในแต่ละวัน อาจทำให้เราขาดสมาธิ และทำให้สมองยังคงนึกถึงเรื่องราวอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น การจัดการกับความคิดและความรู้สึกให้เป็นระบบ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สมองของเราโล่งขึ้นและฟุ้งซ่านน้อยลง
.
โดย “การเขียน” จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เรามีสติจดจ่ออยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจัดตารางชีวิต แบ่งเวลาและเนื้องานให้เหมาะสมกับตนเอง อย่างเช่น การเอางานที่ต้องใช้พลังสมองเยอะมาไว้ในช่วงเช้า หรือจะเป็นการเขียนเพื่อระบายความกังวล
.
การเขียนทั้งสองรูปแบบจะทำให้เราเห็นภาพและจัดการกับตารางชีวิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งยังทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเรากำลังคิดเรื่องอะไร กังวลเรื่องอะไร ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของเรื่องราว ปัญหา ผลลัพธ์ หรือความรู้สึกที่เรามีต่อเรื่องนั้นๆ จะถูกถ่ายทอดลงบนกระดาษแผ่นหนึ่ง ซึ่งการทำเช่นนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจตนเอง
.
5. ระบายความรู้สึกออกมาบ้าง
.
เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีอารมณ์โกรธหรือสับสน แต่การเก็บและกดอารมณ์ ไม่แสดงหรือไม่ระบายความรู้สึกเหล่านี้ออกมา ย่อมนำไปสู่ความยุ่งเหยิงทางจิตใจ ซึ่งทำให้จิตใจของเราไม่สงบ ยากที่จะจดจ่อกับสิ่งต่างๆ
.
การเปิดเผยอารมณ์และแสดงความรู้สึกให้ผู้อื่นได้รับรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร อาจดีกว่าการปกปิดไว้ เพราะยิ่งเก็บไว้ยิ่งนำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล โดยวิธีการระบายความรู้สึกอาจจะเป็นในรูปแบบของการเล่าให้คนที่สนิทฟัง บอกเล่าเรื่องราว ให้เขาได้รับรู้และหาทางออกของปัญหาร่วมกัน หรือบางครั้ง การร้องไห้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ดี ถ้ามันสามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้
.
ความยุ่งเหยิงทางจิตใจ ความสับสน ความกังวล หรือปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไปกับเราทุกคน อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราควรจะชินหรือปล่อยมันไป เพราะปัญหาเหล่านี้อาจพัฒนากลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ และแก้ไขยากขึ้นเมื่อเราไม่ได้แก้ไขมันตั้งแต่เนิ่นๆ หากใครประสบปัญหานี้อยู่ มาลองทำตาม 5 วิธีการนี้กันดู!
.
.
และถ้าใครรู้สึกว่าเกิดความฟุ้งซ่าน โฟกัสกับงานไม่ได้ ลองใช้ Planner เพื่อจัดตารางชีวิตให้เป็นระเบียบขึ้นดู ซึ่งในปีนี้ Mission To The Moon กลับมาอีกครั้งกับ “Mission To The Moon Retreat Planner 2023” แพลนเนอร์ที่จะช่วยให้คุณเขียนสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันได้อย่างเป็นระเบียบ ช่วยจัดตารางชีวิตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่ให้คุณได้กลับมาพักใจและโฟกัสกับตัวเองได้มากขึ้น ผ่านฟังก์ชันต่างๆ มากมายภายในแพลนเนอร์เล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น To Do List, Half-Year Goal Setting, Half-Year Goal Check-in, Mood Tracker, Weekly Preview & Reflection และอีกมากมาย
.
พิเศษ! สั่งซื้อ Retreat Planner 2023 รอบ Pre-Sale ตั้งแต่ 20 กันยายน - 18 ตุลาคม 2565 ลดเหลือ 890.- (จากราคาเต็ม 990.-)
[ ] สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Planner 2023 เพิ่มเติมได้ที่: bit.ly/3QO0Opf
[ ] สามารถสั่งซื้อ Planner 2023 ได้ทาง LINE OA : @missiontothemoon หรือคลิกลิงก์นี้ bit.ly/3RQ3F26
.
แปลและเรียบเรียง:
- 5 Effective Ways To Declutter Your Mind and Achieve Clarity:Dr. Roopleen,Medium - bit.ly/3yalb9E
.
.
#selfdevelopment
#inspiration
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast